ผู้เข้าพัก ณ อนันตรา ลายัน ภูเก็ต รีสอร์ท (Anantara Layan Phuket Resort) และอนันตรา ไม้ขาว ภูเก็ต วิลล่าส์ (Anantara Mai Khao Phuket Villas) ได้เข้าร่วมกิจกรรมปล่อยลูกเต่าคืนสู่ท้องทะเล ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ของมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว (MKMTF) และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน(PMBC) โดยได้มีการปล่อยเต่าตนุจำนวน 50 ตัว ที่มีอายุระหว่าง 12-15 เดือน บนชายหาดลายันและไม้ขาวของภูเก็ต โดยหวังให้เต่าเหล่านี้กลับมาวางไข่ในอีกหลายปีข้างหน้า
มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาว ก่อตั้งโดย ไมเนอร์ โฮเทลส์ (Minor Hotels) (บริษัทแม่ของเครือโรงแรมอนันตรา) เพื่อช่วยฟื้นฟูจำนวนประชากรเต่าทะเลในประเทศไทย จังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าตนุ เต่ามะเฟือง เต่ากระ และเต่าหญ้า ซึ่งเต้าหญ้าได้ถูกจัดอยู่ในรายชื่อสิ่งมีชีวิตใกล้หรือเสี่ยงสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปล่อยเต่าคืนสู่ทะเลไปแล้วกว่า 7,000 ตัว
วันนี้ทางมูลนิธิฯ ได้ขยายโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่การอนุรักษ์เต่าทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งได้ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานราชการ โดยกิจกรรมของมูลนิธิมีทั้งการทำความสะอาดชายหาดและปะการัง การฝึกอบรมให้ความรู้ โครงการรีไซเคิล การปลูกต้นไม้ การช่วยเหลือและปล่อยเต่าคืนสู่ท้องทะเล และให้การสนับสนุนองค์การอนุรักษ์สัตว์ทะเลอื่นๆ ซึ่งผู้เข้าพักในรีสอร์ทสามารถเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้ นอกจากนี้ผู้เข้าพักยังสามารถสนับสนุนโครงการของมูลนิธิฯ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการบริจาคเงินจำนวน 30 บาท ต่อคืน ระหว่างการเข้าพักภายใต้โครงการอนันตราดอลลาร์ฟอร์ดีด (Anantara’s Dollars for Deeds)
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เต่าทะเลจะกลับสู่ชายหาดเพื่อวางไข่ ซึ่งจำนวนของเต่านั้นลดลงอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และชาวบ้านบริเวณหาดไม้ขาวและลายันได้พยายามอย่างหนักเพื่อปกป้องเต่าทะเลที่งดงามเหล่านี้ พวกเขานำไข่ไปฟัก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่ซึ่งลูกเต่าทะเลจะได้รับการปกป้องจากปัจจัยของธรรมชาติและการหาประโยชน์ของมนุษย์ โดยจะทำการดูแลเป็นเวลา 1 ปี เพื่อเพิ่มโอกาสในการอยู่รอด
หิรัญ กังแฮ นักวิชาการประมงของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นผู้ควบคุมบ่อเพาะเลี้ยงเพื่อให้ลูกเต่ามีความแข็งแรงและเพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ที่บ่อเพาะเลี้ยงเต่าทะเลถูกเลี้ยงในบ่อน้ำ โดยจะได้รับอาหารอย่างเพียงพอ และมีการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากนั้น 1 ปี เมื่อกระดองเต่ามีความยาวอย่างน้อย 20 เซนติเมตร ร่างกายมีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม การนับเม็ดเลือด และครีบอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เต่าก็จะได้รับการปล่อยคืนสู่ท้องทะเล
หิรัญ กล่าวว่า “เนื่องจากเราเลี้ยงดูเต่าเพื่อการอนุรักษ์ เราจึงต้องการให้พวกมันมีสุขภาพแข็งแรงและขนาดใหญ่เพียงพอที่จะปกป้องตัวเอง พวกนักล่า เช่น ปลาฉลามหูดำ หรือปลาฉลามสีน้ำเงิน จะไม่สามารถกินเต่าได้ ถ้าเต่ามีขนาดที่เหมาะสม หากเต่าสามารถอยู่ได้โดยไม่ได้รับอันตรายจากอุตสาหกรรมการประมง เราคาดว่า 60-70% ของเต่าทะเลจะมีชีวิตรอดจนเติบโตและกลับมาวางไข่บนชายฝั่งของเราได้”
ผู้เข้าพักสามารถเยี่ยมชมมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาวได้ทุกเช้าเวลา 11.00 น. และเรียนรู้เรื่องชีวิตของเต่าทะเลกับนักชีววิทยาทางทะเลชาวท้องถิ่น สามารถช่วยให้อาหารประจำวัน และพบกับเต่าเจ้าอารมณ์ผู้โด่งดัง “ทอมมี่ (Tommy)” ซึ่งเกิดมาตาบอด จึงได้อยู่อาศัยที่ศูนย์เป็นการถาวร
ติดตามการเดินทางของเต่าทะเลตัวใหม่ ได้ที่วิดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=xXXzqzmYydE